Health

  • โรคภูมิแพ้อากาศเป็นอย่างไร เกิดจากอะไร
    โรคภูมิแพ้อากาศเป็นอย่างไร เกิดจากอะไร

    ภูมิแพ้อากาศ หรือจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) คือ การอักเสบของเนื้อเยื่อจมูกเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ หญ้า แมลงสาบ รังแคสัตว์ ควันบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งมักทำให้ผู้ป่วยจาม คัดจมูก คันจมูก น้ำมูกไหล และเจ็บคอ

    อาการของภูมิแพ้อากาศ
    จาม ไอ หรือเจ็บคอ
    คันจมูก ปาก หู ตา ผิวหนัง หรือบริเวณอื่น ๆ
    คัดจมูก น้ำมูกไหล มีเสมหะ ไม่รับรู้กลิ่น
    ปวดหัว
    ปวดหู หูอื้อ
    น้ำตาไหล ตาแดง ตาบวม หรือขอบตาคล้ำ
    อ่อนเพลีย ง่วงซึม รู้สึกไม่สบายตัว หรือหงุดหงิดง่าย
    ผิวหนังแห้งและคันคล้ายเป็นผื่นผิวหนังอักเสบ หรือเป็นลมพิษ
    ภูมิแพ้

    สาเหตุของภูมิแพ้อากาศ
    ภูมิแพ้อากาศเกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อจมูก หู ตา ไซนัส และลำคอ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อสารก่อภูมิแพ้เพื่อกำจัดสารก่อภูมิแพ้ในอากาศออกจากร่างกาย โรคนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ภูมิแพ้อากาศที่เป็นเฉพาะฤดูกาล (Seasonal Allergic Rhinitis) และภูมิแพ้อากาศที่เป็นตลอดทั้งปี (Perennial Allergic Rhinitis)

    ปัจจัยที่อาจกระตุ้นหรือทำให้อาการของโรคดังกล่าวแย่ลง ได้แก่

    ควันบุหรี่ สารเคมี ควัน หรือมลพิษในอากาศ
    อากาศเย็น ความชื้น หรือลม
    สเปรย์แต่งผม หรือน้ำหอมที่มีกลิ่นฉุน
    การวินิจฉัยภูมิแพ้อากาศ
    แพทย์มักวินิจฉัยผู้ป่วยภูมิแพ้อากาศจากประวัติทางการแพทย์และการตรวจร่างกาย โดยอาจตรวจเลือดและวิเคราะห์ภาพถ่ายรังสีเพิ่มเติมในบางราย โดยมีตัวอย่างการตรวจวินิจฉัย ดังนี้

    1. การวินิจฉัยด้วยการตรวจจมูก
    ผู้ป่วยอาจมีรอยย่นในแนวนอนบริเวณกลางจมูกจากการถูจมูกซ้ำ ๆ มีน้ำมูก และผนังกลางจมูกเอียงหรือทะลุ ซึ่งอาจเกิดจากภูมิแพ้อากาศเรื้อรังหรือสาเหตุอื่น ๆ

    2. การตรวจหู ตา และคอ
    ผู้ป่วยอาจมีเยื่อแก้วหูผิดปกติด้านการหดตัวหรือการยืดหยุ่น มีเยื่อบุตาบวม แดง มีน้ำตามาก มีรอยย่นที่ใต้หนังตาล่าง และรอยคล้ำใต้ตา ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือด หรืออาการคัดจมูก

    3. การวินิจฉัยภูมิแพ้อากาศในห้องปฏิบัติการ
    อาจทดสอบภูมิแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้บนผิวหนัง และตรวจเลือดวัดปริมาณเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลและอิมมูโนโกลบูลิน อี (Immunoglobulin E) ซึ่งเป็นสารภูมิต้านทานที่ตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ในเลือด

    การรักษาภูมิแพ้อากาศ
    โดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคนี้สามารถดูแลตนเองที่บ้านได้ และควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยโรค ตรวจระดับความรุนแรงของอาการ ตรวจโรคที่อาจเกิดร่วมกันอย่างหอบหืด รวมถึงรับยารักษาตามอาการที่เกิดขึ้น ดังนี้

    1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้
    การหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสารระคายเคืองอันเป็นสาเหตุหลักที่กระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการรักษา โดยผู้ป่วยสามารถทำได้หลายวิธี เช่น หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีการฟุ้งกระจายของเกสรดอกไม้โดยเฉพาะผู้ที่แพ้เกสรดอกไม้ หรืออยู่ให้ห่างจากเขตก่อสร้างหรือบริเวณที่มีฝุ่นสะสมในปริมาณมาก เป็นต้น

    2. กำจัดสารก่อภูมิแพ้
    การกำจัดสารก่อภูมิแพ้นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับประเภทของสารก่อภูมิแพ้ ดังนี้
    ไรฝุ่นที่อาศัยอยู่ในฝุ่นและมูลของไรฝุ่น ตัวไรฝุ่นนั้นมีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น มักอาศัยอยู่ตามที่นอน หมอน และฝุ่นละอองที่ฟุ้งอยู่ในอากาศ โดยการกำจัดไรฝุ่นควรใช้หลายวิธีร่วมกัน เช่น นำที่นอน หมอน ผ้าห่ม และตุ๊กตาไปตากแดดจัด อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที เป็นประจำทุกสัปดาห์

    3. การใช้ยาบรรเทาภูมิแพ้อากาศ
    ยาที่ใช้ในการรักษาภูมิแพ้อากาศมีด้วยกันหลายชนิด เช่น

    ยาแก้แพ้อากาศหรือยาต้านฮิสตามีน ยกตัวอย่างเช่น ลอราทาดีน เซทิริซีน เฟ็กโซเฟนาดีน ไดเฟนไฮดรามีน เด็สลอราทาดีน ลีและโวเซทิริซีน เป็นต้น ใช้เพื่อลดการหลั่งสารฮิสตามีนซึ่งทำให้เกิดอาการแพ้ โดยผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้ร่วมกับยาอื่น ๆ

    4. การฉีดวัคซีนภูมิแพ้
    การฉีดวัคซีนภูมิแพ้เป็นวิธีรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัด โดยแพทย์จะฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย หรือให้ผู้ป่วยอมยาที่ผสมสารก่อภูมิแพ้ใต้ลิ้นหลาย ๆ ครั้ง โดยเริ่มในปริมาณที่เจือจางที่สุด แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณยาขึ้นทีละน้อยจนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการแพ้ที่ทุเลาลงหรือหายขาดโดยใช้เวลารักษาประมาณ 3-5 ปี ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ใช้ยาประเภทนี้ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีอื่นข้างต้นแล้วไม่ได้ผล และต้องระมัดระวังอาการแพ้รุนแรงที่อาจเกิดขึ้นด้วย

    วิธีป้องกันภูมิแพ้อากาศด้วยตัวยเอง
    การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศเป็นการป้องกันภูมิแพ้อากาศที่ดีที่สุด

    ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ fifthcolumnmusic.com

Economy

  • แห่ก่อหนี้ผูกพันข้ามปี 3.6 แสนล้าน
    แห่ก่อหนี้ผูกพันข้ามปี 3.6 แสนล้าน

    แห่ก่อหนี้ผูกพันข้ามปี 3.6 แสนล้าน สำนักนายกกันงบซื้อเครื่องบินรับส่งบุคคลสำคัญ

    ครม.อนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปี 360,000 ล้านบาท ให้กับโครงการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินเกิน 1,000 ล้านบาทให้ 14 กระทรวง 25 หน่วยรับงบประมาณ อาทิ สำนัก นายกฯ เสนอขอวงเงิน 8,784 ล้านบาทจัดหาเครื่องบิน รับ–ส่ง บุคคลสำคัญทดแทนลำเดิม มหาดไทย ชงขอ 7 โครงการ 15,486 ล้านบาท

    นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.ได้อนุมัติการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณโครงการขนาดใหญ่ที่มีวงเงินเกินกว่า 1,000 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2567 รวมทั้งสิ้น 14 กระทรวง 25 หน่วยงานรับงบประมาณ วงเงินรวม 360,000 ล้านบาทเศษ

    โดยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีจะอยู่บนหลักการที่ไม่เกินสัดส่วน 20% ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายปี 2567 ที่กำหนดไว้ 3.35 ล้านล้านบาท โดยหน่วยงานที่ต้องการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไปต้องเสนอให้ ครม.อนุมัติก่อนที่จะมีการยื่นคำขอตั้งงบประมาณต่อผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และเนื่องจากสัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์สุดท้ายที่หน่วยงานต่างๆจะเสนอตั้งวงเงินมาได้

    ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า 14 กระทรวง 25 หน่วยงานรับงบประมาณ ประกอบด้วย สำนักนายก รัฐมนตรี เสนอขออนุมัติตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 สำหรับรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ วงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้าน บาทขึ้นไป จัดหาเครื่องบิน รับ-ส่ง บุคคลสำคัญ ทดแทนเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 19 จำนวน 1 เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ การฝึกอบรม และอุปกรณ์อื่นๆที่จำเป็น 8,784 ล้านบาท แบ่งเป็นปี 2567 วงเงิน 1,753 ล้านบาท ปี 2568 วงเงิน 2,191 ล้านบาท ปี 2569 วงเงิน 2,201 ล้านบาท และปี 2570 วงเงิน 2,637 ล้านบาท

    ขณะที่กระทรวงมหาดไทย เสนอ 7 โครงการ วงเงินรวม 15,486 ล้านบาท ประกอบด้วย

    สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อโครงการก่อสร้างศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทย ระยะที่ 2 วงเงิน 3,344 ล้านบาท การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วน ภูมิภาค 4 โครงการ 7,587 ล้านบาท กรุงเทพมหานคร เสนอ 2 โครงการ วงเงิน 4,555 ล้านบาท โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลบางขุนเทียน กทม. และศูนย์สำรวจและเฝ้าระวังชายฝั่ง (โครงการป้องกันกัดเซาะชายฝั่งบางขุนเทียน) 1,723 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสียมีนบุรี ระยะที่ 2 วงเงิน 2,832 ล้านบาท

    กระทรวงการคลังขออนุมัติให้กรมธนารักษ์ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ พื้นที่โซน C เพื่อเป็นค่าเช่าอาคารให้กับบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) พื้นที่ทั้งหมด 510,000 ตารางเมตร เป็นเวลา 30 ปี ในอัตราค่าเช่า 390 บาท/ตารางเมตร/เดือน หรือปีละ 2,386 ล้านบาท และปรับปรุงอัตราค่าเช่าเพิ่มขึ้น 7% ต่อปีของค่าเช่าเดิมทุก 3 ปี รวม 30 ปี เป็นเงินทั้งสิ้น 98,931 ล้านบาท

    กระทรวงดิจิทัลฯโดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สดช.) ดำเนินโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางด้านสาธารณสุขของประเทศไทย 1,514 ล้านบาท

    โดย ขอก่อหนี้ผูกพัน 3 ปี (2566-2568) กระทรวงอุดม ศึกษาฯ เสนอขออนุมัติงบประมาณโครงการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ภูเก็ต 3,143 ล้านบาท และโครงการอาคารรักษาพยาบาล และสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 1,636 ล้านบาทแห่ก่อหนี้ผูกพันข้ามปี 3.6 แสนล้าน สำนักนายกกันงบซื้อเครื่องบินรับส่งบุคคลสำคัญ

    ส่วนองค์กรอิสระและองค์กรภายใต้รัฐธรรมนูญ และในปีงบประมาณ 2567

    ได้แก่ สถาบันพระปกเกล้า สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สำนักงานศาลปกครอง สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานอัยการสูงสุด วงเงินรวม 66,692.55 ล้านบาท

    ด้านศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เสนอโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงช่วยเหลือผู้ประสบภัย จำนวน 3 ลำระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (2567-2571) วงเงิน 4,500 ล้านบาท กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ขอผูกพันงบประมาณสำหรับโครงการศูนย์การแพทย์เพื่อตอบโต้โรคอุบัติใหม่แห่งชาติบำราศนราดูร (โครงการ NCEID) 2,229 ล้านบาท

    กระทรวงเกษตรฯเสนอขออนุมัติให้กรม ชลประทาน 5 โครงการ วงเงิน 2,766 ล้านบาท ได้แก่ เขื่อนทดน้ำผาจุก จ.อุตรดิตถ์ อ่างเก็บน้ำน้ำกิ จ.น่าน ปรับปรุงคลองบางขนาก จ.ฉะเชิงเทรา

    ปรับปรุงคลองระพีพัฒน์แยกใต้ จ.ปทุมธานี และ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองระพีพัฒน์ จ.สระบุรี กระทรวงยุติธรรมเสนอขออนุมัติก่อสร้างเรือนจำ 3 โครงการ ใน จ.อุตรดิตถ์ ชัยนาท ยโสธร รวม 5,004 ล้านบาท โดยผูกพันข้ามปีตั้งแต่ปี 2567-2569.

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : fifthcolumnmusic.com